เอ็นเนียแกรม  คืออะไร
เอ็นเนียแกรม  เป็นศาสตร์โบราณเกี่ยวกับการวิเคราะห์ลักษณะคน  ศึกษาและรวบรวมโดยนักบวชลัทธิซูฟีของศาสนาอิสลาม  ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในต่างประเทศ  สำหรับประเทศไทยเอ็นเนียแกรมได้เข้ามาเมื่อ 8 ปีที่แล้วและแพร่หลายในกลุ่มเล็กๆ  โดยท่านสันติกโรภิกขุ  พระภิกษุชาวอเมริกัน  ซึ่งศาสตร์นี้เป็นภาษาไทยว่า  นพลักษณ์  อันหมายถึงลักษณะ 9 แบบ  และที่สำคัญนพลักษณ์ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับไสยศาสตร์  โหราศาสตร์  โหงวเฮ้ง  ไม่เกี่ยวกับหลักธรรมของศาสนาใดๆ  แต่ทว่าเป็นศาสตร์ที่ช่วยอธิบายพฤติกรรมทางด้านจิตวิญญาณและจิตวิทยาของตน เองและผู้อื่นที่เรามองไม่เห็นหรือไม่เข้าใจนั่นเอง

ปัจจุบันมีหลายองค์กรได้นำทักษะความรู้ในเรื่องนพลักษณ์ไปประยุกต์ใช้ใน การพัฒนาบริหาร  และกระตุ้นประสิทธิภาพการทำงานมีประโยชน์หลากหลาย  เช่น  พัฒนาตนเองให้ดีขึ้น  มอบหมายคนให้ตรงกับงาน  ลดความขัดแย้ง  ลดความแตกต่าง  พัฒนาการเพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล  ทั้งนี้ยังช่วยส่งเสริมการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

อย่างไรก็ดี  ศาสตร์นพลักษณ์นั้นเสมือนหนึ่งเป็นเครื่องมือสำรวจตัวเองเพื่อให้มี ประสิทธิภาพ  ดังนั้น  คุณจะต้องเข้าใจก่อนว่าไม่ได้เกิดจากสิ่งภายนอกแต่เกิดจากภายในตัวบุคคล  และหากอยากจะรู้ว่าคุณเป็นคนลักษณ์ใดนั้นก็ต้องหมั่นสังเกตตนเอง  ให้เวลากับตัวเอง  อยู่กับความคุ้นเคยบ่อยๆ  รวมถึงเรียนรู้เพื่อนร่วมงาน  หัวหน้า  ลูกน้องว่าเป็นคนลักษณ์ใด  ซึ่งแต่ละลักษณ์ก็มีทั้งข้อดีข้อเสียทั้งต่างและคล้ายกันอยู่บ้าง  และมีแนวทางการปรับปรุงต่างกันไป  เรียกว่าเมื่อเรียนรู้กันและกันแล้ว  คราวนี้ก็เข้าสู่การเข้าใจตนเองและยอมรับผู้อื่นในสิ่งที่เขาเป็น  ก็จะช่วยให้สื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

9 ลักษณ์  ประกอบด้วย

1.  คนสมบูรณ์แบบ (The  Perfectionist)

          เป็นคนลักษณะที่เรียกว่าต้องการปรับปรุงตนเองและมีชีวิตในแบบที่ถูกต้อง  เป็ฯคนชอบวิพากษ์วิจารณ์ตนเองและผู้อื่น  ในด้านเด่นคนนี้ลักษณ์เป็นคนทำงานหนัก  อุทิศตนให้งาน  มีวินัยในตนเองสูง  ทำอะไรเป็นแบบแผน  ซื่อสัตย์  มีอุดมคติและจริยธรรม  ต้องการรางวัลในการทำงานแลต่ไม่ยอมร้องขอ  เมื่อโกรธจะไม่ค่อยแสดงออก  ในด้านด้อยอาจมีแนวโน้มชอบตัดสินคนอื่น  ช่างวิตกกังวล  ชอบโต้เถียง  เหน็บแนม  ดื้อรั้น  และมักเอาจริงเอาจังเกินไป  รวมไปถึงนิสัยที่ชอบควบคุมคนอื่น
สื่อสารกับคนลักษณ์ 1 พยายามเติมอารมณ์ขันเล็กๆ  น้อยๆ  ไปในวงสนทนา  แสดงให้เห็นว่าไม่ได้หัวเราะสิ่งที่เขาพูด  เพิ่มน้ำหนักให้กับประเด็นที่เขาค้านหัวชนฝาหากเป็นวิธีเดียวที่ทำให้งาน เดิน  พยายามต้อนรับคำวิพากษ์วิจารณ์คนลักษณ์นี้เถอะ  หากยังอยู่ในบริบทที่เป็นบวกหรือเหมาะสม

         สร้างแรงจูงใจโดย กำหนดบทบาทการทำงานให้เขาเพราะคนลักษณ์นี้ กลัวความผิดพลาด  หรือไม่ก็ประสานความสมบูรณ์แบบเข้ากับความเป็นจริง  สร้างมาตรฐานของงานกับเขาโดยใช้วิสัยทัศน์เชิงบวก  และที่สำคัญคุณต้องซื่อสัตย์และยุติธรรมกับเขาพอ

2.  ผู้ให้  (The  Giver)

เป็นคนที่ต้องการมีคุณค่า  เป็นที่รักของคนอื่น  มีจิตวิทยาในการสื่อสารกับคนอื่นมาก  เข้ากับคนอื่นได้ดี  และมีพลังเหลือเฟือมาจากความภาคภูมิใจที่มาพร้อมกับภาพลักษณ์ในฐานะผู้ให้ ความช่วยเหลือ  ชอบทำตัวเป็นมือขวาในการทำงาน  เหมือนพวกเลขาฯ  รู้ความลับเจ้านาย  ประมาณว่ากุมอำนาจอยู่เบื้องหลัง  ชอบเป็นศูนย์กลางข้อมูลของทุกๆ อย่าง  ชอบให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำ  ไม่ว่าคนอื่นต้องการหรือไม่ก็ตาม  มีหลายบุคลิก  ปรับเปลี่ยนตนเองไปตามสถานการณ์และความต้องการของคนอื่น  ด้านไม่ดีอาจควบคุมคนอื่นด้วยการประจบ  เยินยอ  คนลักษณ์นี้จัดเป็นนักสื่อสารตัวยง
สื่อสารกับคนลักษณ์  2 ควรใช้กิริยาและน้ำเสียงที่อบอุ่น  แสดงความสนใจเป็นการส่วนตัวและชื่นชมในตัวเขาไม่ควรให้ความคาดหวังเพราะเขา อาจหวังว่าจะต้องได้รับในเรื่องการวิพากษ์ต้อง  ชี้ชัดตรงประเด็น

         สร้างแรงจูงใจโดย สัมพันธภาพที่ดีเป็นสิ่งสำคัญที่เขาต้องการ  ในการทำงานมักลำดับว่าเป็นงานของใคร  ซึ่งก็จะให้ความสำคัญกับผู้มีอำนาจมากกว่าก่อน  ซึ่งจริงๆ  ต้องโฟกัสไปที่งาน  ไม่ใช่ที่คน

3.  นักแสดง  ( The  Performer )

เป็นผู้ใฝ่ความสำเร็จ  แรงจูงใจคือการเป็นที่ยอมรับนับถือ  ประสบความสำเร็จในงานทุกด้าน  ภายนอกดูเป็นคนมีความสุขและมองคนในแง่ดี  การรักษาภาพลักษณ์เป็นสิ่งที่เขาใส่ใจทุ่มเททำงานหนัก  บ้างานจนทิ้งครอบครัว  ไม่ดูแลตัวเองหวังว่าคนอื่นจะทำงานหนักด้วย  เลี่ยงความล้มเหลวทุกประการ  เลือกทางที่จะได้รับการตอบรับที่ดีเท่านั้น  ถ้าเกิดความล้มเหลวจะโยนใส่คนอื่น  ชอบแข่งขัน  มุ่งเอาชนะ  ต้องการชิงตำแหน่งผู้นำ  ทนการวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้

         สื่อสารกับคนลักษณ์  3 ใช้วิธีการสื่อสารแบบเซลล์แมน  เขาสามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกโอกาส  ด้วยความที่เป็นคนห่วงภาพลักษณ์อย่างมาก  ดังนั้น  วิธีการสื่อสารคือแสดงให้เห็นว่า  “ นับถือความสามารถเขาจริงๆ  แต่ไม่เห็นด้วยกับประเด็นนี้ ”
สร้างแรงจูงใจโดย ควรฉาพภาพเส้นทางสู่ ความสำเร็จในองค์กรอย่างชัดเจน  เพราะพวกเขาจะปีนป่ายไปสู่จุดนั้น  ระบบการตรวจสอบและให้รางวัลจะทำให้เขามีความสุข  บางทีใช้เวลาทำงานมากเกินไปอาจต้องสนับสนุนให้พักผ่อนหรือลาพักร้อนเพื่อ ความสมดุล

4.  คนโศกซึ้ง  ( The  Tragic  Romantic )

เป็นคนที่ต้องการที่จะเข้าใจความรู้สึกตัว เอง  แสวงหาความหมายของชีวิต  หลีกเลี่ยงความสามัญธรรมดา  ต้องการงานที่แตกต่าง  งานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ค์  ประสิทธิภาพของงานขึ้นอยู่กับสภาพอารมณ์  มีบุคลิกศิลปิน  ช่างจินตนาการ  ต้องการแสดงความรู้สึกออกมา  อยากให้คนอื่นมองว่าเป็นคนพิเศษ  ข้อด้อยไม่สามารถแยกเรื่องรักใคร่ส่วนตัวออกจากกิจธุระ  ก้าวร้าว  หรือพยายามขับคู่แข่งขันออกไปจากพื้นที่การทำงาน  แต่ชอบคนเก่งที่อยู่นอกทีม  จะว้าวุ่นรู้สึกเหี่ยวเฉา  ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่คนเก่งกว่า  หรือได้รับความสำคัญกว่า

         สื่อสารกับคนลักษณ์  4 ต้องการความสนับสนุนทางจิตใจ  ความรู้สึกเป็นสิ่งสำคัญ  อย่าหนีหน้าเวลาเขาแสดงอารมณ์  แม้อารมณ์จะขึ้นๆ  ลงๆ  แต่ประสิทธิภาพการทำงานจะกลับคืนมาด้วยเมื่อสติเขากลับคืนมา

         สร้างแรงจูงใจโดย จะถูกขับเคลื่อนด้วยความสนใจอย่างพิเศษ  ตารางทำงานอาจไม่มีแบบแผนไม่เหมือนใคร  ควรบอกให้ตระหนักเรื่องเวลา  หากคุณเป็นหัวหน้าเตรียมรับมือกับงานล่าช้า  หรือการขาดงานของลูกน้องกลุ่มนี้ไว้บ้าง

5.  นักสังเกตการณ์  ( The  observer )

เป็นคนที่ต้องการรู้และเข้าใจในสิ่งต่างๆ  ด้วยตนเอง  หลีกเลี่ยงความรู้สึกของการถูกครอบงำหรือบุกรุก  ชอบสะสม  ชอบอยู่คนเดียว  ใช้ความคิดหรือในสิ่งที่ตนสนใจ  ต้องการอะไรที่คาดการณ์ได้  ตัดสินใจโดยปราศจากความรู้สึกส่วนตัว  จะถือว่าการแสดงอารมณ์เป็นการเสียการควบคุมตนเอง  หลีกเลี่ยงความขัดแย้งจนถึงที่สุด  จะมีประสิทธิภาพมากถ้าไม่ต้องยุ่งเกี่ยวหรือสังสรรค์กับใคร  ทำงานหนักได้ถ้าได้รับความเป็นอิสระและความเป็นส่วนตัว

         สื่อสารกับคนลักษณ์  5 เป็นคนที่คนอื่นอาจรู้จักเขาน้อยหรือไม่ค่อยเข้าใจ  เพราะไม่ชอบเล่าเรื่องส่วนตัวให้ใครฟัง  ยิ่งเข้าใกล้ยิ่งถอยห่าง  ดังนั้น  พึงเคารพในพื้นที่ของเขา  ปล่อยให้คิดเห็นอย่างเป็นอิสระ  ไม่ควรคะยั้นคะยอถามว่ารู้สึกอย่างไร
สร้างแรงจูงใจโดย ให้เวลาในการ เสนอแนวคิด  วิสัยทัศน์  เขาชอบอยู่ในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเปิดโอกาสให้ได้ประเมินสิ่ง ต่างๆ  แต่อาจจะยากหากให้เขาเป็นคนแรกในการแยกประเด็น

6.  นักปุจฉา  ( The  Questioner )

เป็นคนต้องการความมั่นคงปลอดภัย  เป็นคนกลัวการขู่คุกคามแล้วจะแสดงความกลัวออกมา  ระแวดระวัง  ขี้สงสัย  ลังเล  มองโลกในแง่ร้าย  บางครั้งพยายามทำตัวให้ถูกใจคนอื่น  ส่วนประเภทกลัวแล้วจะสู้จะดูกล้าหาญ  ท้าทายเพื่อปกปิดความกลัว  ส่วนใหญ่จะมีลักษณะทั้งสองปนกัน

         สื่อสารกับคนลักษณ์  6 พยายามลดช่องว่างของความเสี่ยงให้มากที่สุด  แต่คาดหวังผลลัพธ์สูง  เป็นคนที่ไม่สามารถพูดในที่สาธารณะ  ต้องการการยืนยันแน่นอนก่อนจะเคลื่อนไหว

         สร้างแรงจูงใจโดย หากทีมงานแสดงให้เขาสามารถวางใจได้  ไม่มีอะไรซ่อนเร้น  คนลักษณ์นี้จะซื่อสัตย์ภักดีอย่างมาก  ส่วนอีกวิธีหนึ่งควรป้องกันเรื่องสภาพจิตใจ  อย่าปล่อยให้เป็นคนคิดมาก  เพราะอาจเป็นคนระแวงจนเกินไป  ช่วยขจัดความลังเล  และพยายามสร้างสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้มั่นคง  ไว้ใจได้

7.  นักผจญภัย  ( The  Adventure )

เป็นคนต้องการที่จะมีความสุข  หลีกเลี่ยงความทุกข์  ความเจ็บปวด  ปิดบังความกระวนกระวายด้วยการทำตัวให้ยุ่ง  และมีแผนการมากมายที่ยังไม่ได้ลงมือทำ  มีความรู้สึกข้างในว่าตัวเองเก่งและมีคุณค่า  เปิดรับความคิดใหม่ๆ  มากกว่าความจำเจ  เป็นพวกต่อต้านอำนาจแบบลักษณ์ 8  แต่จะใช้วิธีเล็ดลอดแทนการเผชิญหน้าโดยตรง  ละมุนละม่อมในการแก้ปัญหา  มักเป็นเพื่อนร่วมงานที่สร้างความสุข  สนุกสนานให้เสมอ  ด้วยการมีอารมณ์ขัน  ความคิดสร้างสรรค์ค์และการให้อภัย  ชอบความสัมพันธ์แบบเท่าเทียมกัน  แต่ก็มีแนวโน้มเบี่ยงแบนชักจูงคนอื่นเพื่อตนเอง

         สื่อสารกับคนลักษณ์  7 ด้วยความเป็นคนมองโลกในแง่ดี  ทำให้เป็นคนสบายๆ  ง่ายๆ  แต่บ่อยครั้งก็หละหลวม  จึงยากที่จะควบคุมคนพวกนี้  สิ่งหนึ่งคือควรช่วยประสานแนวคิดให้เป็นไปในทางเดียวกัน  พยายามให้เขามองด้านลบไปพร้อมกับด้านบวก

         สร้างแรงจูงใจ ต้อนรับวิสัยทัศน์แง่บอกอย่างยินดี  ร่วมแชร์ความคิดกับเขา  เพราะจะสนุกสนานในการพบปะผู้คน  ไม่ควรใช้วิธีการสั่งการหรือควบคุม  เพราะเขาจะทำตัวลื่นไหลและหนีห่างจากความรับผิดชอบ

8.  เจ้านาย  ( The  Boss )

มีความต้องการพึ่งตนเอง  เข้มแข็ง  มีอิทธิพลต่อโลกเป็นพวกมีปัญหาเกี่ยวกับความโกรธและหลงลืมตัวเอง  ชอบสวมบทบาทผู้คุมกฎ  แตกต่างจากลักษณ์ 1  ตรงที่เขาพร้อมจะแสดงความโกรธออกมาได้เสมอ  ในสถานการณ์ที่ไม่มีผู้นำก็แสดงบทบาทเอง  อาจมองการประนีประนอมว่าเป็นการยินยอม  อ่อนแอ  มีความกังวลอย่างสูงว่าจะถูกครอบงำ  สนใจเรื่องความถูกต้องยุติธรรมและการปกป้องคน  ข้อด้อย  มักมองว่าตนเองถูกยึกเป็นศูนย์กลางโกรธอย่างตรงไปตรงมา  ไม่มีวาระซ่อนเร้น  แสดงความโกรธแบบไม่ยั้ง  สนับสนุนกฎเกณฑ์ที่เข้ากับตนเอง  เบี่ยงเบนกฎที่ไม่ถูกใจ

         สื่อสารกับคนลักษณ์  8 ควรสื่อสารแบบตรงไปตรงมา  เมื่อเขาโกรธหรือตำหนิติเตียนก็ยอมรับ  แต่อย่าเอามาเป็นเรื่องส่วนตัว  คนลักษณ์นี้รับมือกับข่าวร้ายได้ดี  แต่หากมองข้ามเขาจะทำให้รู้สึกเหมือนถูกทรยศหักหลัง  ตรงไปตรงมาดีกว่า

         สร้างแรงจูงใจโดย เต็มไปด้วยความปรารถนาในชีวิต  พลังการแข่งขัน  ท้าทาย  ควรให้การเคารพนับถือ  ความยุติธรรม  และการสื่อสารที่ซื่อตรงหากต้องการให้เขาเป็นพันธมิตร

9.  นักประสานไมตรี  ( The  Peacemaker )

เป็นคนหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทุกรูปแบบ  ดูผ่อนคลายสบายๆ  มีความต้องการมีสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานและเจ้านาย  ชอบการทำงานชัดเจนหรือทำงานเป็นกระบวนการทำงานได้รวดเร็ว  ประสานงานดี  วางลำดับความสำคัญงานยาก  แต่ก็ไม่ชอบถูกกะเกณฑ์โดยคนอื่น  ทำงานแข่งกับเส้นตาย  ใช้เวลาจนนาทีสุดท้าย  ข้อด้อย  มักหลงลืมความต้องการ  แต่บางทีก็แสดงความโกรธออกมาอย่างไม่รู้ตัว  เพิกเฉยปัญหาแล้วก็โทษระบบ  โทษการจัดการว่าไม่ดีซะอย่างนั้น

         สื่อสารกับคนลักษณ์  9 หากเขาไม่ตอบรับแสดงว่าเขาปฏิเสธ  หากต้องการให้ตกลงควรวางกรอบการสนทนาที่ชัดเจน  พยายามควานหาความต้องการของเขาใส่ไปในโครงการด้วย

         สร้างแรงจูงใจโดย ควรแสดงออกว่าเขามีคุณค่า  จุดแข็งคนลักษณ์  9  มองภาพกว้างจะช่วยในการมองยุทธศาสตร์ได้ดี  ทำงานกับลักษณ์นี้ต้องใช้ความประนีประนอม  ใจเย็นสักนิด  อย่ายืนกรานตลอดเวลา  อาจต้องใช้เวลาพอสมควรหากให้ต้องการให้ซึมซับความคิดต่างๆ

 

ที่มา: www.formumandme.com

 

เพิ่มเติม:

- http://www.dekisugi.net/enneagram/index.jsp (เนื้อหาและแบบทดสอบเกี่ยวกับนพลักษณ์)