ก่อนตั้งครรภ์ 3 เดือนอาจจะเริ่มทานกรดโฟลิค (FOLIC ACID) หรือ โฟเลต (FOLATE) วันละ 400 ไมโครกรัม และทานต่อไปจนกระทั่งอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ (หลังจากนั้นจะทานต่อก็ได้เพราะไม่สะสมเพราะเป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ แต่ก็ไม่ได้เอื้อประโยชน์) ทั้งนี้เพื่อป้องกันความผิดปกติของการสร้างระบบประสาท สมองและไขสันหลังของทารกในครรภ์ ได้แก่ภาวะหลอดประสาทเปิด (Neural Tube defect หรือ NTD) ภาวะไร้สมอง (Anencephaly) กระดูกไขสันหลังปิดไม่สนิท (Spina bifida) ค่ะ
นอกจากนี้กรดโฟลิค มีหน้าที่ใน การสร้างเม็ดเลือดแดงมีความจำเป็นสำหรับการสร้าง สารพันธุกรรม (DNA) การเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ ของร่างกาย และโฟเลตยังเป็นตัวสร้างสารสีแดงในเม็ดเลือดหรือ Heme ด้วย ดังนั้นวิตามินนี้จำเป็นต่อทั้งแม่และทารกในครรภ์ การขาดโฟเลตในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เกิดผลเสียแก่แม่ได้ คือ เกิดโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ (Megaloblastic Anemia)
สำหรับแหล่งธรรมชาติ โฟเลตพบได้ในผักใบเขียว ตับ ถั่ว มันฝรั่ง ฯลฯ แต่โฟเลตถูกทำลายได้ง่ายโดยความร้อน ดังนั้นเวลา ปรุงอาหารที่มีโฟเลต ต้องหาวิธีทำให้สุกโดยเร็วเพราะ ความร้อนอาจทำลายโฟเลตได้มากถึงร้อยละ 80-90 นอกจากนี้ยาบางชนิดเช่น ยาคุมกำเนิด ยากันชัก ยารักษาเนื้องอกหรือมะเร็งบางชนิดจะทำให้การดูดซึมโฟเลตเป็นไปไ ด้น้อยลงค่ะ
และเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์แล้วก็เข้ารับการฝากครรภ์และพยายามรักษาสุขภาพมากๆ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก พยายามไม่เครียด ยกเว้นการยกของหนักหรือออกกำลังกายที่หนักๆ พยายามทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด และมีประโยชน์ โดยเฉพาะนมและปลา (ถ้าไม่ชอบนมอาจจะทานโยเกิร์ต หรือชีสแทนก็ได้ค่ะ)
ส่วนที่ทานเสริมก็มีดังนี้ค่ะ
· แคลเซียม ถ้าทานนมไม่ได้ก็อาจจะทานแคลเซียมเสริมวันละ 1000 มิลลิกรัม ส่วนอาหารที่มีแคลเซียมสูง อื่นๆได้แก่ งาดำ กุ้งตัวเล็ก กะปิ เนย ปลาตัวเล็กๆรับประทานทั้งกระดูก แครอท แต่เวลาจะซื้อแคลเซียมมาใช้ ต้องดูให้ดีๆเกี่ยวกับปริมาณของธาตุแคลเซียมในเม็ด เพราะส่วนใหญ่ใน สลากยามักแจ้งปริมาณของสารประกอบแคลเซียมต่อเม็ด ไม่ใช่ปริมาณของธาตุแคลเซียมต่อเม็ด เช่น สลาก บอกว่าเป็น "แคลเซียมคาร์บอเน็ต" 1,000 มิลลิกรัม ก็ไม่ได้หมายความว่าให้ธาตุแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม โดยต้องคำนวณก่อนว่า "แคลเซียมคาร์บอเน็ต" 100 มิลลิกรัม จะให้ธาตุแคลเซียม 40 มิลลิกรัม ดังนั้น ในกรณีนี้เม็ดยาจะมีธาตุแคลเซียมเพียง 400 มิลลิกรัม เท่านั้นค่ะ
· วิตามินดี เนื่องจากแคลเซียมเป็นธาตุที่ละลายและถูกดูดซึมได้ยาก เพื่อที่จะให้การดูดซึมที่ลำไส้เล็กดีขึ้นต้องอาศัยวิตามินดีเป ็นตัวช่วยสร้างโปรตีนที่จับแคลเซียมเพื่อนำไปสู่ส่วนต่างๆของร่ างกาย วิตามินดี ที่ได้จากอาหารมีปริมาณน้อยมากแต่ร่างกายสังเคราะห์ ได้ที่ผิวหนังเมื่อได้รับจากแสงแดดที่เหมาะสม โดยออกไปในแสงแดดอ่อนในช่วงเช้า ๆ ไม่เกิน 09.00 น. หรือ ในช่วงเย็นหลัง 16.00 น. เพียง 10 – 15 นาที สัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้งก็พอ ส่วนอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินดีได้แก่ ไข่แดง ปลาที่มีไขมัน ตับ นม หรืออาหารเช้าซีเรียลที่เพิ่มวิตามิน
· ธาตุเหล็ก ควรทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว (ยกเว้นถั่วลิสง) และดื่มน้ำส้มระหว่างที่ทานอาหารเพราะวิตามินซีจะช่วยเพิ่มการด ูดซึมของธาตุเหล็กจากอาหารให้ดีขึ้น ((แต่ในช่วงที่ฝากครรภ์คุณหมอจะเช็คความเข้มข้นของเลือดเป็นระย ะๆอยู่แล้วล่ะค่ะ ซึ่งถ้าซีดคุณหมอก็จะให้ Iron supplement แต่มักจะไม่ให้ในช่วงที่มีอาการแพ้ท้อง เพราะจะทำให้อาการแพ้ท้องเป็นมากขึ้น)) และถ้ามีอาการแพ้มาก อาจจะทานวิตามิน B6 วันละ 50 มิลลิกรัม จะช่วยให้อาการแพ้ท้องดีขึ้นได้ค่ะ
นอกจากนั้นทานผักผลไม้เยอะๆเพราะเป็นแหล่งของวิตามินและเกลือแร ่ที่สำคัญ รวมทั้งไฟเบอร์ อย่าลืมดื่มน้ำมากๆ วันละ 1.5 - 2 ลิตรนะคะ
ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงก็มี
· เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาแฟอีน เช่น ชา กาแฟ โค๊ก เป๊ปซี่ ฯลฯ
· เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
· ตับ เนื่องจากเป็นแหล่งของวิตามินเอ ซึ่งวิตามินเอขนาดสูงๆจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ((แต่ถ้าวิตามินเอจากพืช อย่างมะละกอ ผักบุ้ง แครอท ปลอดภัยและทานได้ตามปกติค่ะ))
· ชีสบางชนิด พวก Mould-rippened soft cheese เช่น Brie , Camembert , blue-veined cheese ซึ่งทำมาจากนมที่ไม่ pasteurised เสี่ยงต่อการติดเชื้อ Listeria
· ถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง โดยเฉพาะถ้ามีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว
· หลีกเลี่ยงการทาน ปลาทูน่า , shark , ปลาปากแหลม(sword fish) ,ปลาทะเลขนาดใหญ่จำพวก marlin ในปริมาณมาก เพราะมีสารปรอทค่อนข้างสูง
ที่มา: http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=pojung&month=07-2005&date=20&group=5&gblog=4
0 comments:
แสดงความคิดเห็น