สมุนไพรกำจัดแมลง

7/2/55 |




สมุนไพรป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช

รวบรวมมาไว้เป็นแนวทางคร่าวๆ ให้ไปปรับใช้กันเอง “อย่าพึ่งเชื่อนะครับ … ต้องลอง”

สมุนไพรป้องกันกำจัดหนอน
ต้น ส้มเช้า เถาวัลย์ยาง เปลือกต้นไกรทอง เถาขี้กาขาว เถาขี้กาแดง เปลือกต้นเข็มป่า ใบเข็มป่า เปลือกต้นจิกสวน เปลือกต้นจิกแล เถาบอระเพ็ด เปลือกต้นมังตาล ลูกมังตาล ใบยอ เมล็ดละหุ่ง เมล็ดสบู่ต้น ใบสบู่ต้น ใบสะเดา ผลสะเดา หางไหลขาว หางไหลแดง หัวหนอนตายหยาก เมล็ดมันแกว มะลิป่า ใบเลี่ยน ใบควินิน ลูกควินิน ใบมะเขือเทศ สาบเสือ ยาสูบ ยาฉุน ขมิ้นชัน พลูป่า ชะพลู กานพลู ใบหนามขี้แรด ฝักคูนแก่ ใบดาวเรือง ว่านน้ำ เทียนหยด หัวกลอย เครือบักแตก มุยเลือด ค้อแลน ตีนตั่งน้อย ส้มกบ ปลีขาว เกร็ดลิ้น ย่านลิเภา พวงพี่ เข็มขาว ทวดข่าบ้าน

สมุนไพรป้องกันกำจัดแมลง
สาบ เสือ โหระพา สะระแหน่ พริกไทย ข่าแก่ พริก ดีปลี ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง กระเทียม กระเพรา กระชาย ใบผกากรอง ใบดาวเรือง ยาสูบ ยาฉุน หางไหลขาว หางไหลแดง ใบมะเขือเทศ ขิง ใบน้อยหน่า ใบสบู่ต้น ลูกสบู่ต้น ใบยอ เถาบอระเพ็ด ใบมะระขี้นก เปลือกว่าน หางจระเข้ ว่านน้ำ เมล็ดโพธิ์ ดอกเฟื่องฟ้าสด กลีบดอกชบา ใบคำแสด เมล็ดแตงไทย ไพรีทรัม เปลือกมะม่วงหิมพานต์ ดอกลำโพง ลูกทุเรียนเทศ ใบเทียนหยด ลูกเทียนหยด

สมุนไพรกำจัดเชื้อโรค
สาบ เสือ ว่านน้ำ ใบมะเขือเทศ เปลือกมังคุด เปลือกเงาะ เปลือกต้นแค ลูกกล้วยอ่อน ลูกกระบูน ลูกเสม็ด ลูกครัก หน่อไม้สด รากหม่อน ยาสูบ เถาบอระเพ็ด ต้นแสยะ ต้นขาไก่ สะระแหน่ ลูกหมากสด พริก กระเทียม ใบมะละกอ ปัสสาวะได ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง ใบเทียนหยด ลูกเทียนหยด ใบมะรุม ลูกอินทนิลป่า ลูกตะโก กระเพรา ขึ้นฉ่าย กระชาย ขมิ้นชัน กานพลู ชะพลู เปลือกลูกมะม่วงหิมพานต์ ต้นกระดูกไก่ ใบยูคาลิปตัส หัวไพล เปลือกว่านหางจระเข้ ว่านไฟ ขมิ้นเครือ ภังคีน้อย หัวข่อ สิงไคต้น พะยอม รากรางดี แก่นคลี่ ดีปลีเชือก แก่นประดู่ เปลือกงวงกล้วย

.

สารสกัดสมุนไพรป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช

สะเดา : ส่วนที่ใช้ ผลแก่(สดหรือตากแห้ง/เฉพาะเมล็ดในหรือเมล็ดใน+เนื้อ+เปลือก) เมล็ดในสดแก่จัดมีสารออกฤทธิ์มากที่สุด ใบแก่มีสารออกฤทธิ์แต่น้อยกว่าเมล็ดมาก …… ผลสะเดา 1 กก. บดป่นแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 50-100 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช … ได้ผลดี หนอนกระทู้ผัก หนอนหนังเหนียว หนอนใยผัก หนอนคืบ หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนแก้ว หนอนบุ้ง หนอนหลอดหอม หนอนเจาะต้น/ยอด/ดอก หนอนหัวกะโหลก หนอนกอสีครีม หนอนลายจุดข้าวโพด/ข้าวฟ่าง หนอนม้วนใบข้าว หนอนกอข้าว หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ ด้วงเต่าฟักทอง ตั๊กแตน ไส้เดือนฝอย … ได้ผลปานกลาง หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนเจาะต้นกล้าถั่ว หนอนเจาะดอกกล้วยไม้ หนอนเจาะผลมะเขือ หนอนเจาะยอดคะน้า เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ หากระบาดมากๆ ให้ใช้สารเคมีกำจัดกวาดล้างก่อน หลังจากนั้นจึงควบคุมด้วยสารสะเดา … ได้ผลน้อย ด้วงปีกแข็งกัดกินใบ หมัดกระโดด มวนแดง มวนเขียว มวนหวาน …… ใบแก่สด/แห้ง ผสมดินหลุมปลูกป้องกันกำจัดแมลงใต้ดินได้ดี ใช้ใบแก่แห้งบดป่นผสมเมล็ดพันธุ์ในโรงเก็บ ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชทำลายเมล็ดพันธุ์ได้ดี …… ใช้ส่วนเมล็ดแก่สด/แห้ง บุบพอแตกหว่านลงในนาก่อนกลบเทือกหรือหลังหว่านหรือหลังปักดำ อัตรา 5-8 กก./ไร่ ศัตรูพืช เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว หนอนกระทู้กล้า หนอนคอรวงข้าว หนอนกอข้าว เพลี้ยไฟ ตั๊กแตนข้าว …… ใช้กิ่งแก่สับเล็ก 1-2 นิ้ว บุบพอแตกหว่านลงนาหลังข้าวงอกหรือเริ่มโต อัตรา 3-5 กก./ไร่ ศัตรูพืช ปูนา หอยเชอรี่

สาบเสือ : ใช้ส่วนใบ/ต้นแก่แห้ง บดป่น 1 กก. แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. หรือต้ม 1 ชม.ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร ศัตรูพืช หนอนกระทู้ หนอนใย หนอนคืบ เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย

ยา สูบ ยาฉุน : (1) ใช้ส่วนต้นสดแก่จัด(แกนกลางมีสารมากที่สุด) และใบสดแก่ บดละเอียดหรือสับเล็ก 1 กก. แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 48 ชม. หรือต้มพอเดือดแล้วปล่อยให้เย็น ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร … (2) ใช้ยาเส้นหรือยาฉุน 2 กก. ผสมน้ำ 100 ลิตร คนบ่อยๆ จนน้ำเป็นสีน้ำตาลไหม้ ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อล้วนๆ ไม่ต้องเจือจางน้ำ … (3) ยาฉุนหรือยาเส้น 1 กก. ผสมน้ำ 2 ลิตร ต้มจนเดือดนาน 30-60 นาที ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อที่ได้เจือจางน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช ด้วงหมัดผักกาด มวนหวาน หนอนกอข้าว หนอนกะหล่ำปลี หนอนผักกาด หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง ไรแดง ไรขาว ราสนิม ไวรัสโรคใบหงิก เชื้อรา ฉีดพ่นสารสกัดยาสูบยาฉุนในตอนเช้าอากาศปลอดโปร่งหรือตอนกลางวันอากาศขมุก ขมัวไม่มีแสงแดด ได้ผลดีกว่าฉีดพ่นตอนกลางวันแดดร้อนจัดหรือตอนเย็น

ยี่โถ : ใช้ส่วนดอก ใบแก่ ผลแก่(เปลือก+เมล็ด) รากแก่ บดละเอียดหรือสับเล็ก 1 กก. แช่น้ำ 10 ลิตร นาน 48 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 50-100 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช ด้วงหรือมอดทำลายเมล็ดพันธุ์ หนอนกระทู้ผัก หนอนใยผัก หนอนคืบกะหล่ำ หนอนหลอดหอม หนอนหนังเหนียว หนอนม้วนใบ หนอนกัดใบ หนอนเจาะยอดเจาะดอก

หาง ไหล (โล่ติ๊น) : มี 2 ชนิด คือ หางไหลขาวเมื่อหมักแล้วได้หัวเชื้อสีขาวน้ำซาวข้าว หางไหลแดงเมื่อหมักแล้วได้หัวเชื้อสีแดง หางไหลแดงมีฤทธิ์ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชมากกว่าหางไหลขาว ทั้งสองชนิดมีฤทธิ์ในการทำลายสัตว์น้ำ รากมีสารออกฤทธิ์มากกว่าเถาหรือลำต้นแต่ที่ใบไม่มีและต้นอายุเกิน 2 ปีขึ้นไปจึงมีสารออกฤทธิ์ … ใช้ส่วนรากหรือเถาสับเล็กแล้วทุบ 1 กก. แช่น้ำ 30- 40 ลิตร นาน 3 วัน ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอนกระทู้ผัก หนอนกะหล่ำปลี หนอนผักกาด หนอนใยผัก หนอนหนังเหนียว หนอนหลอดหอม หนอนเจาะยอด/ดอก/ผล/ต้น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยศัตรูข้าว เพลี้ยแป้ง แมลงปากดูด/กัด แมลง/หนอนศัตรูฝ้าย

หนอน ตายหยาก : มี 2 ชนิด หนอนตายหยากตัวผู้(หัวเล็ก) และหนอนตายหยากตัวเมีย(หัวใหญ่) สารออกฤทธิ์อยู่ที่แกนกลางของหัว หนอนตายหยากตัวเมียมีสารมากกว่าตัวผู้ … ใช้หนอนตายหยากบดป่นหรือสับเล็ก 1 กก. แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 48 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 50-100 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช เชื้อราสาเหตุโรคเน่าคอดิน หนอนกระทู้ หนอนต่างๆ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงศัตรูพืชในเงาะ/พริกไทย/ทุเรียน … โขลกละเอียดผสมน้ำปิดแผลสัตว์เลี้ยงป้องกันแมลงตอมวางไข่

บอระเพ็ด : ใช้เถาสดแก่จัดบดป่นหรือสับเล็ก 1 กก. แช่น้ำ 10 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น หนอนกอ หนอนเจาะยอด หนอนกัดใบ โรคยอดเหี่ยว โรคข้าวตายพราย โรคเมล็ดข้าวลีบ … บอระเพ็ดเป็นสารดูดซึมซึ่งจะเข้าไปในเนื้อพืช ทำให้มีรสขมจนแมลงศัตรูพืชจำพวกปากกัดหรือปากดูดไม่ชอบกิน เช่น ใช้น้ำคั้นบอระเพ็ดคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนหยอดลงหลุมป้องกันแมลงใต้ดิน ใช้น้ำคั้นบอระเพ็ดฉีดพ่นโคนต้นข้าวบริเวณหนูกัดทำให้หนูไม่กัดต้นข้าว … หากต้องการถอนฤทธิ์รสขมบอระเพ็ดให้ฉีดพ่นลางจืด 1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 2 วัน

ใบมะเขือเทศ : ใช้ส่วนใบแก่สด บดละเอียด 2-3 กำมือแช่น้ำร้อน 1 ลิตร นาน 2 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อผสมน้ำ 1 เท่า ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอนกระทู้ หนอนใยผัก หนอนหนังเหนียว หนอนหลอดหอม หนอนเจาะต้น/ยอด/ดอก/ผล หนอนผีเสื้อกะโหลก หนอนกอ หนอนม้วนใบ หนอนชอนใบ หนอนแก้ว ราต่างๆ ไวรัส แบคทีเรีย

ดาว เรือง : ใช้ส่วนใบแก่สดและดอกสด บดป่นหรือสับเล็ก 1 กก. แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 50-100 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอนใยผัก หนอนกระทู้ หนอนคืบ หนอนผีเสื้อกะโหลก เพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาว ไส้เดือนฝอย

กระเทียม : ใช้ส่วนหัวสดแก่ 1 กก. โขลกละเอียดแช่ในน้ำมันก๊าดหรือแอลกอฮอล์พอท่วม (ประมาณ 1 ลิตร) นาน 24 ชม. หรือแช่ในน้ำร้อนจัด 1 ลิตร นาน 24 ชม. เหมือนกัน ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อทั้งหมดผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช ด้วงหมัดผัก ด้วงปีกแข็ง ด้วงงวงกัดใบ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไส้เดือนฝอย แมลงหวี่ขาว เชื้อรา(โรคกลิ่นสับปะรด โรคต้นเน่าผลเน่า โรคผักเน่า โรครากำมะหยี่หรือใบไหม้ โรคราน้ำค้าง โรครากเน่าโคนเน่า โรคเหี่ยว โรคใบจุด โรคใบเน่า) ไวรัสวงแหวนในมะละกอ แบคทีเรียต่างๆ

ขมิ้นชัน : ใช้ส่วนหัวแก่ 1 กก. โขลกละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1-2 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช เชื้อรา(โรคผลเน่า โรคใบแห้ง) หนอน(หนอนกระทู้ผัก หนอนคืบกะหล่ำ หนอนแก้ว หนอนใยผัก หนอนเจาะยอด) ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว ด้วงงวงข้าวเปลือก มอดข้าวเปลือก ไรแดง

ข่าแกง ข่าลิง ขิง : ใช้ส่วนหัวแก่ 1 กก. โขลกละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1-2 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช เชื้อรา(โรคผลเน่า โรคฝักและเมล็ดเน่า โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบแห้ง) หนอนกระทู้ ด้วงงวงทำลายเมล็ดพันธุ์ถั่ว

คูน : ใช่ส่วนฝักสดแก่จัด 1 กก. โขลกละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 3-4 วัน ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอน(หนอนกระทู้ หนอนคืบ หนอนใย หนอนเจาะยอด-ต้น-ดอก-ผล หนอนม้วนใบ) ด้วงต่างๆ

น้อยหน่า : ใช้ส่วนเมล็ดสดผลแก่ 1 กก. โขลกละเอียด แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 48 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อเจือจางน้ำเปล่า 1 เท่าตัว ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช มวนปีกแก้วมะเขือ หนอนกระทู้ เพลี้ยอ่อน ด้วงฟักทอง

ตะไคร้ หอม : ใช้ส่วนเหง้าและใบแก่สด สับเล็กหรืดบด 1 กก. แช่น้ำนาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอนกระทู้ หนอนใยผัก หนอนคืบ หนอนหลอดหอม หนอนแก้ว หนอนม้วนใบ …… ตะไคร้หอมที่จะให้สารออกฤทธิ์สูงสุดต้องเก็บช่วงเวลา 03.00 น. และน้ำมันระเหยตะไคร้หอมมีฤทธิ์แรงมาก ขนาดทำให้ผิวหนังคนเกิดอาการไหม้ได้ หากใช้กับพืชต้องใช้ในอัตราที่เจือจางมากๆ

มันแกว : ใช้เมล็ดสดแก่ 1 กก. บดละเอียดแช่น้ำ 100 ลิตรนาน 48 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอนกระทู้ หนอนคืบกะหล่ำ หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อต่างๆ หมัดกระโดด มวนเขียว มวนหวาน เพลี้ยอ่อน

ว่านน้ำ : ใช้ส่วนเหง้าแก่สดบดละเอียด 1 กก. แช่น้ำ 40 ลิตร นาน 48 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 20 ซีซีง/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช แมลงวันแดง แมลงวันทอง ด้วงหมัดผัก มอดข้าวเปลือก แมลงปากกัดในผัก ราแอนแทรกโนส(ใบ/ผล/ยอด/ต้น/ผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว) ราต่างๆ ในดิน

ละหุ่ง : ปลูกละหุ่งเป็นแนวรอบสวนหรือแทรกตามพื้นที่ว่าง ถ้าเกะกะหรือกิ่งมากเกินไปให้ตัดทิ้งบ้างตามความเหมาะสม เพื่อให้ต้นแตกใบอ่อนใหม่ ศัตรูพืช แมงกะชอน จิ้งหรีด หนู ปลวก ไส้เดือนฝอย

มะรุม : ใช้ส่วนใบแก่แห้งบดป่นผสมดินปลูกที่หลุมปลูก อัตราส่วน ใบมะรุม 1 ส่วนต่อดินหลุมปลูก 10-20 ส่วน ทิ้งไว้ 7 วัน จึงเริ่มออกฤทธิ์ ศัตรูพืช โรคพืชจำพวกราทุกชนิด แมลงกัดกินรากและแมลงทุกชนิด

ผกากรอง : ใช้ส่วนดอกและใบแก่สด 1 กก. บดป่นแช่น้ำ 1 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอนห่อใบข้าว
***สารสกัดผกากรองมีพิษต่อแมลงธรรมชาติ

ยาง มะละกอ : ใช้ส่วนใบแก่สดและเปลือกผลแก่ติดยาง 1 กก. บดป่นแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช ราสนิมกาแฟ ราแป้ง เพลี้ยไฟ

มะระ ขี้นก : ใช้ส่วนใบแก่สด 1 กก. บดป่นแช่น้ำ 5 ลิตร นาน 48 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 50-100 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ศัตรูพืช ด้วงหมัดผัก ด้วงกัดใบ แมลงสิงข้าว

.

สารสกัดสมุนไพรป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช (แบบผสม)

สะเดา เลี่ยน : ใบสะเดาแก่สด 5 กก. + ใบเลี่ยนแก่สด 5 กก. บดป่นแช่น้ำพอท่วมนาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1-2 กระป๋องนม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช กลุ่มเดียวกันกับสะเดา แต่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเพราะมีสารจากใบเลี่ยนมาเสริมฤทธิ์

สะเดา เลี่ยน ดาวเรือง บอระเพ็ด ลูกเหม็น : ใบสะเดาแก่สด 1 กก. + ลูกสะเดาแก่สด ½ กก. + ดอกดาวเรืองสด ½ กก. บดป่นหรือสับเล็ก + น้ำพอท่วม ต้มจนเดือด 2-3 ชม. ปล่อยให้เย็นแล้ว + เถาบอระเพ็ดแก่สด ½ กก. + น้ำ 20 ลิตร แช่นาน 3 วันได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1 ลิตร + ลูกเหม็น 1-2 ลูก + น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช แมลงศัตรูพืชในพืชตระกูลถั่ว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ

สะเดา ข่า ตะไคร้หอม : ใบสะเดาแก่สด 5 กก. + ข่าแก่สด + ตะไคร้หอมทุกส่วนแก่สด 5 กก. บดละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 10-20 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช แม่ผีเสื้อ/ตัวหนอนแก้ว หนอนชอนใบ เพลี้ยแป้ง โรคราดำ ราแอนแทรกโนส โรครากเน่าโคนเน่า … พืชที่ได้ผล เช่น ส้มเขียวหวาน ส้มโอ หน่อไม้ฝรั่ง บัวหลวง

สะเดา ยาสูบ หางไหล ตะไคร้หอม : ใบสะเดาแก่สด 5 กก. + ใบยาสูบแก่สด 1 กก. + หางไหล 1 กก. + ตะไคร้หอมแก่สดทุกส่วน ½ กก. บดละเอียด + เหล้าขาว 750 ซีซี. + หัวน้ำส้มสายชู 150 ซีซี. + น้ำ 20 ลิตร หมักนาน 3-5 วันได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช ไล่แมลงทำให้ไข่แมลงฝ่อ กำจัดหนอนและโรคได้หลายชนิด

พริก พริกไทย ดีปลี : พริกสดเผ็ดจัด 1 กก. + พริกไทยผลสด 1 กก. + ดีปลีสด 1 กก. บดละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 200-500 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช มด เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนคืบ หนอนใย ไล่แมลงผีเสื้อ ไวรัส(ใบด่าง/ใบลาย)

สาบเสือ แค กระเทียม ตะไคร้หอม ข่า สะเดา : ใบสาบเสือแก่สด 1 กก. + เปลือกต้นแคสด 1 กก. + กระเทียมสด ½ กก. + ตะไคร้หอม 1 กก. + ใบสะเดาแก่สด 5 กก. บดปั่น + เหล้าขาว 1 ขวด(750ซีซี.) + หัวน้ำส้มสายชู 750 ซีซี. + น้ำ 40-60 ลิตร หมักนาน 3-5 วันได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช โรคเกิดจากเชื้อรา(ใบไหม้ ใบจุด ใบเน่า) โรคทางดิน(รากเน่า โคนเน่า เน่าคอดิน) เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง หนอนต่างๆ

ตะไคร้หอม/แกง ขิง ข่า พริก น้อยหน่า หางไหล หนอนตายหยาก : อย่างละเท่าๆ กันแก่สดบดละเอียด แช่น้ำพอท่วม (ใส่เหล้าขาว + หัวน้ำส้มสายชู ตามความเหมาะสม) แช่นาน 3-5 วันได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ร่วมกับใบ/เมล็ดน้อยหน่าแก่แห้ง + ตะไคร้หอมแก่แห้ง + ยาฉุน อย่างละเท่าๆ กัน บดปั่น หว่านลงพื้นรอบๆ โคนต้น ศัตรูพืช หมัดกระโดด

ยาสูบ ยาฉุน : ใบ/ต้นแก่สด 1 กก. + ยาฉุน ½ กก. บดละเอียดแช่น้ำ 2 ลิตร นาน 24 ชม. หรือต้ม 1 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อที่ได้/น้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช เพลี้ยต่างๆ ไร รา ด้วงหมัดผัก ด้วงเจาะสมอ หนอนคืบกะหล่ำ หนอนเจาะยอด/ใบ/ต้น/ดอก หนอนม้วนใบ และไล่แมลง

.

กรรมวิธีสกัดสารจากสมุนไพร

สูตร 1 : แช่หรือหมักด้วยน้ำเปล่าพอท่วมหรือน้ำมากกว่า 2-5 เท่าตามความเหมาะสม ทั้งนี้ถ้าใช้น้ำน้อยจะได้สารสกัดที่เข้มข้น หรือใช้น้ำตามปริมาณที่ระบุจากงานวิจัย … การหมักหรือแช่ด้วยน้ำเปล่าจะได้สารออกฤทธิ์ที่น้อยที่สุดในบรรดากรรมวิธี การหมักทุกรูปแบบ

สูตร 2 : สมุนไพร + กากน้ำตาล + จุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 3:1:1/2

สูตร 3 : สมุนไพร + น้ำเปล่า + กากน้ำตาล + จุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 10:10:1:1:1/2

สูตร 4 : สมุนไพร + น้ำเปล่า + เหล้าขาว + หัวน้ำส้มสายชู อัตรา 10:10:1/2:1/10

สูตร 5 : สมุนไพร + เหล้าขาว + หัวน้ำส้มสายชู อัตรา 10:10:1/10

สูตร 6 : สมุนไพร + เอธิลแอลกอฮอล์ อัตรา 1: 1 หรือ 1:2-3

สูตร พิเศษ : (1) สกัดด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อ พีดีเอ. (2) สกัดด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์ (3) สกัดด้วยเอกเซนและอาซิโตน (4) สกัดด้วยวิธีต้มกลั่นหรือทำเป็นสารระเหย เป็นกรรมวิธีสกัดภายในห้องทดลองมีอุปกรณ์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ได้สารออกฤทธิ์บริสุทธิ์และมีประสิทธิภาพสูงสุดเหมาะสำหรับเพื่อการค้า

ที่มา : http://www.kasetporpeang.com

ตำนานแมวกวัก Maneki Neko

6/2/55 |

เรื่องโดย : The 19th Ronin



ตำนานเจ้าเหมียวกวักนำโชค มะเนะคิเนะโกะ (まねきねこ) มีหลากหลายเรื่องราวที่สืบทอดต่อกันมาเนิ่นนานมาแล้ว แต่ตำนานเรื่องเล่าที่น่าเชื่อถือได้และผู้คนญี่ปุ่นกล่าวถึงกันมากที่สุดก็ คือเรื่องนี้ มาเนะคิเนะโกะ มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยเอโดะประมาณศตวรรษที่ 17 ในสมัยนั้นนักบวชที่จำวัดอยู่ในวัดเล็กๆ นั้นค่อนข้างมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก จะกล่าวถึงวัดโกโตคุจิ อยู่ทางทิศตะวันตกของโตเกียว นักบวชชราที่คอยแบ่งอาหารที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยให้กับเจ้าแมว ทามะ ที่เป็นทั้งสัตว์เลี้ยงและเป็นเพื่อนยากในตอนนั้น ถึงแม้ว่านักบวชชราจะลำบากขนาดไหนเค้าก็ไม่เคยทอดทิ้งทามะ การเป็นนักบวชช่างยากเย็นเสียเหลือเกิน ลมหนาวพัดผ่านหนาวเหน็บก็ได้แต่ผิวปากแก้หนาวกันไปแล้วยังสายฝนที่ตกลงมาก็ ทำให้หลังคาเสียหายอยู่ตลอด บางครั้งนักบวชชราทั้งหิวและเหนื่อยล้าไปหมดแล้ว บางสิ่งที่ยังเหลืออยู่ก็คือการอุทิศตนและความดีงามที่นักบวชชรายังคงระลึก ถึงอยู่เสมอ

มี อยู่วันหนึ่งเพราะอากาศหนาวจัดจนทำให้ร่างกายของนักบวชชราหนาวเหน็บจนทนไม่ ไหว เค้าจึงเดินไปชงชาเพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่น แต่ทว่าไม่มีใบชาเลยน่ะสิ นักบวชชรารู้สึกเศร้ามาก เค้าร้องไห้เสียใจ ร่างกายค่อยๆ ทรุดตัวลงและหมดสติไป เจ้าแมว ทามะ เห็นท่าไม่ดีเป็นกังวลจึงเดินไปใกล้ๆ กับนักบวชชรา อยากจะทำให้เจ้านายอุ่นมากขึ้น เมื่อนักบวชได้สติตื่นขึ้นมาจึงบอกกับแมวของเค้าว่า “ทามะเอ้ย! ฉันมันจนแต่ก็ยังคิดจะเก็บแกมาเลี้ยงอีก มันจะมีสักวันมั้ย ที่แกจะทำอะไรซักอย่างเพื่อวัดแห่งนี้ เพื่อฉันด้วย ” เมื่อพูดเสร็จนักบวชชราก็ร้องไห้และค่อยๆ หลับไปอีกครั้ง เจ้าแมวทามะ เกิดความกังวลใจทั้งสับสนและเข้าใจดี จึงตัดสินใจเดินไปนั่งอยู่ด้านหน้าประตูของวัดโกโตคุจิ ทามะนั่งไปพร้อมกับเลียขาและถูกับใบหน้าของตัวเองด้วย

เวลา ผ่านไปไม่นานก็มีชายผู้หนึ่งที่ร่ำรวยและมีอำนาจได้เดินทางผ่านมาทางวัด ฝนก็เริ่มตกหนักขึ้นเรื่อยๆ ไม่พอลูกเห็บขนาดใหญ่ยังตกลงมาอีก ชายผู้นั้นจึงเข้าไปหลบฝนใต้ต้นไม้ใหญ่ ฟ้าเริ่มร้องหนัก มีสายฟ้าแลบอีกด้วย ชายผู้นั้นจึงมองหาที่หลบที่ใหม่แล้วทันใดนั้นก็หันไปเจอกับเจ้าทามะที่นั่ง อยู่หน้าประตูวัดพอดี เจ้าทามะกวักเรียกผู้มาเยือน ชายผู้นั้นไม่รอช้ารีบวิ่งมาทันที พอวิ่งมาถึงวัดชายผู้นั้นหันกลับไปมองที่ต้นไม้ใหญ่และถึงกลับอึ้งไป ต้นไม้โดนฟ้าผ่าและไฟลุกเผาไม้แตกออกเป็นเสี่ยงๆ ไปเรียบร้อยแล้ว ชายผู้นั้นรู้สึกขอบใจเจ้าแมวทามะมากที่ช่วยชีวิตเค้าให้รอดจากอันตราย จึงรีบมองไปรอบๆ เพื่อที่จะตบรางวัลให้กับเจ้าของแมวตัวนี้ทันที แล้วเค้าก็พบนักบวชชราและพบว่าสภาพแวดล้อมที่นี่ช่างย่ำแย่เสียเหลือเกิน ต่อมาชายผู้นั้นได้เป็นสหายกับนักบวชชราและมอบของขวัญให้อีก ชายผู้นั้นยังช่วยส่งเสริมให้คนอื่นๆ มาทำบุญที่วัดแห่งนี้อีกด้วย จนวัดโกโตคุจิมีความเจริญขึ้นและมีชื่อเสียงจนถึงทุกวันนี้ เจ้าแมว ทามะ ไม่ได้ช่วยชีวิตนักบวชชราอย่างเดียวยังช่วยให้เค้าหลุดพ้นจากชีวิตที่ยาก ลำบากด้วย เมื่อแมวทามะเสียชีวิตลงได้รับเกียรติให้ฝังในสุสานพิเศษและยังมีรูปปั้นแมว กวักที่ยกเท้าขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงความโชคดีและร่ำรวยให้กับเจ้าของ ชายผู้นั้นแท้จริงแล้วคือ Ii Naosuke ผู้ครองเมือง Hikone นั่นเอง สุสานของเค้าก็อยู่ที่วัดแห่งนี้ด้วย

เจ้าเหมียวกวักนำโชค มะเนะคิเนะโกะ ตำนานความโชคดีกับสถานที่ที่มีอยู่จริง Gotokuji Temple แห่งนี้อยู่ที่ Setagaya, Tokyo ใครมีโอกาสไปเที่ยวก็อย่าลืมไปวัดที่เต็มไปด้วยตุ๊กตาแมววัดนี้ด้วยล่ะ ไปไหว้พระและขอพรกับมะเนะคิเนะโกะขอให้ร่ำให้รวยมีความสุขติดกลับมาบ้านด้วย นะ

ที่มา : http://www.marumura.com

ถ้าพูดถึงวัตถุมงคลละก็ เป็นของคู่กายสำหรับคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณเลยค่ะ เพราะคนไทยเชื่อว่า ถ้ามีวัตถุมงคลพกติดตัวไว้จะสามารถคุ้มครองเรายามมีภัยหรือมีอุบัติเหตุร้าย แรงได้  และอีกอย่างหนึ่ง ที่พกไว้ก็เพราะอยากให้สิ่งดีดี หรือสิ่งที่เราปรารถนานั้นเกิดขึ้นจริง

แต่ใช่ว่าจะมีแต่คนไทยเท่านั้นนะค่ะที่เชื่อเรื่องนี้ คนญี่ปุ่นก็มีความเชื่อด้านนี้เหมือนกันค่ะ ที่ญี่ปุ่นเรียกสิ่งสิ่งนี้ว่า โอมะโมริ  (Omamori) เครื่องรางญี่ปุ่น แต่มันมีค่อนข้างหลายประเภท หลายด้านความเชื่อ เลยหยิบเรื่อง “เครื่องรางเหรียญ 5 เยน’’ มาเล่าสู่กันฟังค่ะ เพราะเป็นเครื่องรางที่ได้รับความนิยมไม่แพ้เครื่องรางชนิดอื่นๆ เลย



เหรียญ 5 เยน หรือที่ชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า โกะเอ็นดามะ นั้น มีสีและแบบค่อนข้างจะแตกต่างจากเหรียญญี่ปุ่นอื่นๆ โดยเหรียญนี้มีรูตรงกลาง พิมพ์ลายรูปรวงข้าวและสายน้ำ และเนื่องจากผลิตขึ้นจากทองแดงและสังกะสี จึงทำให้ได้สีคล้ายทองคำ ดูมีค่าขึ้นมาทีเดียว

ชาวญี่ปุ่นนั้นไม่มีการทำบุญตักบาตรเหมือนบ้าน เรา เค้าจึงทำบุญโดยการบริจาคเป็นเงินแทน และส่วนใหญ่คนญี่ปุ่นก็จะนิยมใช้เหรียญ 5 เยนในการนั้น โดยให้เหตุผลว่ามันถูกดี และอีกสาเหตุหนึ่งก็คือความเชื่อที่ว่ารูตรงกลางของเหรียญ 5 เยน หมายถึงสิ่งเลวร้ายจะได้ผ่านช่องนี้ไปได้ และจะได้พบเจอแต่สิ่งดีดี

และอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เหรียญ 5 เยนมีความพิเศษมากกว่าเหรียญอื่นๆ นั่นก็เพราะคำว่า 5 เยน ในภาษาญี่ปุ่นคือ 五円 (go-en โกะเอ็น) ออกเสียงตรงกับคำว่า ご縁 ซึ่งคันจิ มีความหมายว่า เป็นการขอพรจากเทพเจ้า นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อที่ว่า หากมาคนเดียวก็จะได้พบเนื้อคู่ หากมาเป็นคู่ก็หมายถึงขอให้รักกันนานๆ และหากว่ามากันทั้งครอบครัว ก็จะมีความหมายว่าขอให้ทุกคนในครอบครัวมีความสุข เหรียญ 5 เยนจึงเป็นสัญลักษณ์ของความโชดดีนั่นเอง

นอก จากนำมาบริจาคแล้ว ก็ยังนิยมนำเหรียญ 5 เยน มาทำเป็นเครื่องรางสำหรับห้อยมือถือ ใช้เรียกเงินเรียกทองด้วย โดยเครื่องรางนี้อาจจะประกอบไปด้วย เหรียญห้าเยน ค้อนทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองโบราณด้วยค่ะ ส่วนด้านหลังก็อาจจะถูกผูกติดด้วยผ้าชนิดเดียวกันกับที่ใช้ทำผ้ากิโมโน ถือเป็นเครื่องรางยอดนิยมมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ เหรียญ 5 เยน จึงนับได้ว่าเป็นเครื่องรางที่พกพาสะดวกที่สุดค่ะ

ที่มา : http://www.marumura.com